เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง! แนะ "สวดมนต์ข้ามปี" อย่างถูกวิธี เป็นมงคลให้กับชีวิต แถมดีต่อสุขภาพ!

LIEKR:

แนะ "สวดมนต์ข้ามปี" อย่างถูกวิธี เป็นมงคลให้กับชีวิต แถมดีต่อสุขภาพ!ในวาระขึ้นปีใหม่ มาสวดมนต์ข้ามปี เสริมมงคลชีวิต สมความปรารถนาทุกประการ กันค่ะ!

        ในคืนวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ หลายคนคงจะไปฉลองอย่างอบอุ่นกับเพื่อนๆ คนรัก หรือครอบครัว แต่อีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากไม่แพ้กัน ก็คือการ "สวดมนต์ข้ามปี" เพราะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ถือเป็นการเริ่มต้นสิ่งดีๆ เป็นมงคลให้กับชีวิต และการสวดมนต์ยังให้คุณประโยชน์ต่อจิตใจและสุขภาพด้วย

        อย่างไรก็ตาม คนที่จะเข้าร่วมสวดมนต์ข้ามปีก็ต้องระมัดระวังในการนั่งเป็นเวลานานๆ ที่อาจจะทำให้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า จนกระทบต่อสุขภาพเช่นกัน ทางกรมการแพทย์ และกรมอนามัย จึงมีคำแนะนำดีๆ มาฝากกัน

ก่อนสวดมนต์

        - ควรกินอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ผักผลไม้ และไม่ควรทานอาหารในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย เลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

        - เลือกทานข้าวกล้อง ซึ่งถึงแม้จะย่อยยากกว่าข้าวขาว แต่อุดมไปด้วยใยอาหาร ช่วยไม่ให้ท้องผูก และกินปริมาณน้อยกว่าข้าวขาวแต่อิ่มเร็วกว่า

        - ไม่ควรทานผักสดอย่าง กะหล่ำปลี บรอกโคลี หอมใหญ่ กระเทียมดิบ เนื่องจากจะทำให้ท้องอืด ควรบริโภคผักต้มสุก

        - เลือกทานผลไม้ที่ย่อยง่าย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า มะละกอ

        - ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด

        - หลังจากอาหารมื้อเย็นแล้วไม่ควรบริโภคอาหารอื่นมากเกินไป แนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ หรือน้ำผลไม้ เพราะการกินอาหารมากเกินไปเมื่อนั่งสวดมนต์นานๆ ส่งผลทำให้อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาจเป็นอุปสรรคต่อการสวดมนต์ได้ในเวลาที่ยาวนานได้

        - ควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนการสวดมนต์ เพื่อเป็นการฟิตร่างกายทำให้สวดมนต์ได้ยาวนานขึ้น ด้วยการยกแขนขึ้นลง พับแขนเข้าออก เอียงตัวไปทางซ้าย ขวา กำมือ แบมือ ซึ่งทุกกลุ่มวัยสามารถทำได้ทั้งในลักษณะการยืนและนั่ง

ขณะสวดมนต์

        - ควรหลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบเป็นเวลานาน แต่ให้สลับท่านั่งระหว่างการนั่งพับเพียบกับการนั่งขัดสมาธิ

        - ควรยกลำตัวหรือกระบังลมขึ้นเป็นช่วงๆ ช่วงละ 10 นาที และคลายกล้ามเนื้อลงประมาณ 1 นาที ทำสลับกันอย่างนี้ไปตลอดขณะทำการสวดมนต์ จะทำให้กล้ามเนื้อลำตัวแข็งแรงขึ้น เป็นการลดการกดน้ำหนักเฉพาะจุดและต้านทานแรงดึงดูดของโลก

        - ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่า ไม่ควรนั่งกับพื้นนานๆ หรือนั่งพับเพียบ เพราะจะมีอาการปวดเข่า ควรนั่งบนเก้าอี้แทนจะทำให้สามารถสวดมนต์ได้ยาวนานขึ้น

        - หากมีเวลาพักในช่วงสวดมนต์ควรเปลี่ยนอิริยาบถด้วยการเดิน หรือการบริหาร ยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบค้างนิ่งไว้ประมาณ 10-30 วินาที แต่ละท่าทำอย่างน้อย 4 ครั้ง และเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อให้ยืดจนถึงจุดที่รู้สึกตึงแต่ไม่ใช่ เ จ็ บ แล้วนิ่งค้างไว้ในท่านั้น ระหว่างการยืดเหยียดให้หายใจเข้า-ออกตามปกติอย่ากลั้นหายใจ

        - หลังจากการสวดมนต์เสร็จสิ้น ควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพเนื่องจากนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน

        ท่าบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อแก้เมื่อย ระหว่างสวดมนต์

        - การยืดเหยียดคอ โดยให้เอียงศีรษะไปทางขวาลู่ไหล่ลงทั้ง 2 ข้าง ใช้มือขวาวางบนศีรษะด้านซ้ายแล้วดึงศีรษะเบาๆ ไปทางไหล่ขวา ค้างไว้ 10-30 วินาที สลับข้างและทำซ้ำแบบเดียวกัน

        - การยืดเหยียดน่อง โดยยืนห่างจากฝาผนัง 2-3 ฟุต แล้วก้าวเท้าซ้ายเข้าใกล้ผนัง ให้เท้าทั้งสองข้างตั้งฉากกับฝาผนัง งอเข่าซ้าย เข่าไม่ควรเลยปลายเท้า แขนทั้งสองข้างแนบฝาผนัง ขาขวาตึงและส้นเท้าแนบพื้น ค้างไว้ 10-30 วินาที สลับข้างและทำซ้ำแบบเดียวกัน พยายามให้เท้าทั้งสองข้างขนานกันและตั้งฉากกับฝาผนัง ส้นเท้าหลังแนบพื้นและเข่าหลังสามารถงอได้เล็กน้อยระหว่างการยืดเหยียด

        ทางกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้เผยแพร่บทสวดมนต์ข้ามปี ฉบับพกพา เปิดง่ายๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ มาให้ดาวน์โหลดกันด้วย (สำหรับ 3 บทสวดแรก) บทสวดมนต์ที่ว่ากันว่าได้อานิสงส์แรง เสริมมงคลชีวิต มีชัยชนะ เกิดปัญญา สมความปรารถนาทุกประการ แคล้วคลาด ปลอดภัย และเพิ่มบุญบารมี ที่สำคัญไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สวดมนต์ได้

1. บทนะโม 3 จบ, บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย เชื่อกันว่าการสวดมนต์บทนี้จะให้อานิสงส์ในทุกๆ เรื่อง

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธวิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทูอนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโมสันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโกโอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆอาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

2. บทสวด ชยันโต 9 จบ เชื่อกันว่า หากสวดมนต์บทนี้เป็นประจำทุกวัน จะมีแต่ชัยชนะทุกประการ เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล ก็จะสมความปรารถนาทุกประการ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง

นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล

อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ


พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง

สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ

จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง

มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ

3. บทสวดชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ) เชื่อกันว่าเป็นบทสวดมีอานิสงส์มาก นำสิริมงคลมาให้

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง

ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ


มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง

ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง

เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง

อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ


สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง

ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต

อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมังวิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง

ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที

หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ

4. บทบารมี 30 ทัศ เชื่อกันว่าการสวดมนต์บทนี้ จะช่วยเพิ่มบุญบารมีมากมายมหาศาลหาค่ามิได้

ทานะ ปาระมี สัมปันโน, ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน, ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน, อิติปิ โส ภะคะวา

สีละ ปาระมี สัมปันโน, สีละ อุปะปารมี สัมปันโน, สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน, อิติปิ โส ภะคะวา

เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน, เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน, เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน, อิติปิ โส ภะคะวา

ปัญญา ปาระมี สัมปันโน, ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน, ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน, อิติปิ โส ภะคะวา

วิริยะ ปาระมี สัมปันโน, วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน, วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน, อิติปิ โส ภะคะวา

ขันตี ปาระมี สัมปันโน, ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน, ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน, อิติปิ โส ภะคะวา

สัจจะ ปาระมี สัมปันโน, สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน, สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน


เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน, อิติปิ โส ภะคะวา

อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน, อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน, อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน, อิติปิ โส ภะคะวา

เมตตา ปาระมี สัมปันโน, เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน, เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน, อิติปิ โส ภะคะวา

อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน, อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน, อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน, อิติปิ โส ภะคะวา

ทะสะ ปาระมี สัมปันโน, ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน, ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน, อิติปิ โส ภะคะวา

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง

5. บทโมรปริตร เชื่อกันว่าการสวดมนต์บทนี้ จะช่วยเสริมให้ชีวิตมีความแคล้วคลาดปลอดภัย

อุเทตะยัญจักขุมา  เอกะราชา

หะริสสะวัณโณ  ปะฐะวิปปะภาโส

ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ

นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา

นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา


อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนาฯ

อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา

หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส

ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง

ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง

เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม

เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ

นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา

นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา

อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติฯ

ข้อมูลและภาพจาก kapook

บทความที่คุณอาจสนใจ